เจาะทิศทาง4ค่ายใหญ่หลังจบมหากาพย์ประมูล4GJASหน้าใหม่เซอร์ไพรส์ตลาด TRUEพร้อมขึ้นเบอร์1
ปิดฉากการประมูลมาราธอนกว่า 60 ชั่วโมง “TRUE-JAS” คว้าชัยชนะ พร้อมทุบสิถิติใหม่ 2 ใบอนุญาตมูลค่ารวม 151,952 แสนล้านบาท ขณะที่ “ADVANC-DTAC” ยอมยกธง หลังราคาสูงเกินกว่าที่ตั้งไว้
ปิดฉากการประมูลมาราธอนกว่า 60 ชั่วโมง “TRUE-JAS” คว้าชัยชนะ พร้อมทุบสิถิติโลก 2 ใบอนุญาตมูลค่ารวม 151,952 แสนล้านบาท ขณะที่ “ADVANC-DTAC” ยอมยกธง หลังราคาสูงเกินกว่าที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายังมีคลื่นอื่นให้ประมูลอีก พร้อมนำเงินที่ใช้การประมูลไปพัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขณะที่กสทช.ยืนยัน แม้ราคาประมูลใบอนุญาตโทรศัพท์ 4G มีมูลค่าสูง แต่ค่าบริการจะต้องถูกลง พร้อมการขยายโครงข่ายให้ครอบคบุมตามที่ กสทช.กำหนด
สำหรับผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ในชุดที่ 1 คลื่น 895-905 MHz คู่กับ คลื่น 940-950 MHz ได้แก่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ราคาสุดท้ายที่ 75,654 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 คลื่น 905-915 MHz คู่กับ คลื่น 950-960 MHz ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ราคาสุดท้ายที่ 76,298 ล้านบาท ราคารวม 151,952 ล้านบาท
ส่วนผู้ที่ไม่ชนะการประมูล คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาคลื่นความถี่ชุดที่ 2 ด้วยราคาสุดท้าย 75,976 ล้านบาท และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เสนอราคาคลื่นความถี่ชุดที่ 1 ด้วยราคาสุดท้ายที่ 70,180 ล้านบาท
ขณะที่มีการวิเคราะห์ว่า JAS ซึ่งสร้างความตะลึงให้วงการสื่อสารไทย จะขาดทุนปีหน้า 5,500 ล้านบาท จึงต้องมีการเพิ่มทุน และเชื่อว่าการที่บริษัทกล้าเข้าประมูลในรอบนี้ด้วยราคาที่สูง บริษัทอาจมีพันธมิตรที่ไม่ธรรมดา ซึ่งมีการคาดการว่าจะเป็นพันธมิตรจากเกาหลี, หัวเหว่ย หรือ ไชน่าเทเลคอม ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะมาลงทุน
ส่วน DTAC คาดกำไรคงที่ 7,400 ล้านบาท แต่มีความเสี่ยงสูงที่ลูกค้าย้ายจะย้ายคลื่น นอกจากนี้คลื่นเดิม 2G (1800 และ 850) จะหมดอายุ โดยหลัง 3 ปีนี้จะเหลือแค่คลื่น 2100 หรือ 3G อย่างเดียว 15 เมก ส่งผลให้ทำการแข่งขันยากขึ้นจากความเร็วเน็ตในระดับต่ำ ทางออกของบริษัทจึงมีอีกเวลา 3 ปีนี้ เพื่อวางแผนทางธุรกิจใหม่ โดยมีโอกาสที่บริษัทจะร่วมมือกับ บมจ.กสทโทรคมนาคม หรือ CAT ที่ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ และในปี 61 ยังมีสิทธิที่จะเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz ที่จะมีขึ้นอีกครั้ง ซึ่ง TRUE และ JAS อาจจะไม่เข้ามาแข่งรุนแรงแบบครั้งนี้อีก เนื่องจากมีคลื่นอยู่ในมือแล้ว
ด้าน AIS (ADVANC) ที่คาดว่าจะมีกำไรปีหน้า 41,000 ล้านบาทนั้น ยังมีความกังวลว่าลูกค้าคลื่น 900 เดิมจะมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งนักวิเคราะห์ไม่แสดงความกังวลต่อกรณีดังกล่าวมากนัก เนื่องจากกรณีเลวร้ายที่สุดลูกค้า 1.9 ล้านรายซิมดับ จะส่งผลให้กำไรหายไปเพียง 4,800 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ และเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อกำไร เนื่องจากได้ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการไม่ชนะประมูลคลื่น 2 แล้ว นอกจากนี้บริษัทยังมีโอกาสกลับไปคุยกับพันธมิตรอย่าง TOT ซึ่งก่อนหน้ามีการเจรจาขอเช่าใช้งานคลื่น 2100 MHz ที่ TOT ถืออยู่จำนวน 15 MHz ซึ่งเชื่อว่าอีกไม่นานจะมีความคืบหน้าออกมา
ในเชิงประมานการสำหรับ TRUE ซึ่งแสดงความต้องการขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของค่ายมือถือในประเทศไทยจากการประมูลครั้งล่าสุดนั้น ปีหน้าคาดมีผลขาดทุนราว 8,700 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุน ขณะที่แนะนำให้จับตาดูผลกระทบเชิงอุตสาหกรรมในอนาคตเมื่อ JAS ซึ่งพร้อมเดินหน้าเข้ามาเป็นรายใหม่ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและได้ประโยชน์มากขึ้น หลังยุคตลาดผูกขาดจากการแข่งขันทางธุรกิจของ 3 ค่ายมือถือ