เฝ้าระวัง! “ศรีวัฒนประภา” เคยทิ้ง RS มาแล้วจับตาประวัติศาสตร์ “ซ้ำรอย” หรือ “ต่อยอด”
เฝ้าระวัง! "ศรีวัฒนประภา" ทิ้ง RS มาแล้ว หลังถือได้ 2 เดือน จับตาประวัติศาสตร์ซ้ำรอยหรือต่อยอด งานนี้หมู่จ่ารู้กันชัดแน่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีรายการสรุปซื้อขายกระดานรายใหญ่ (Big lot) ของบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV จำนวน 21 รายการ ปริมาณ 1,891,588,286 หุ้น มูลค่ารวม 7.94 พันล้านบาท ราคาเฉลี่ย 4.20 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาต่ำกว่ากระดานซื้อขาย
โดยการทำบิ๊กล็อตในครั้งนี้เป็นการขายหุ้น AAV ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ตระกูลแบเลเว็ลด์ให้กับนายวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการ “กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์” ในสัดส่วน 39% คิดเป็นจำนวนหุ้น 1,891,588,286 หุ้น ส่งผลให้กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ AAV ขณะที่กลุ่มตระกูลแบเลเว็ลด์ยังคงเหลือสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ 5% หรือคิดเป็น 242,500,000 หุ้น
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าจับตาว่าก่อนหน้านี้กลุ่มคิงพาวเวอร์ได้เข้าซื้อหุ้น บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS (Big lot) ในช่วงวันที่ 31 ก.ค.58 จากตระกูลเชษฐโชติศักดิ์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 79 ล้านหุ้น และนายเชษฐ เชษฐโชติศักดิ์ อีกจำนวน 15 ล้านหุ้น รวมทั้งหมดเป็น 94 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 9% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1 พันล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่ กลุ่มคิง พาวเวอร์ ตัดสินใจลงทุนในหุ้นอาร์เอสนั้นให้เหตุผลว่า “เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพในการต่อยอดความสำเร็จจากธุรกิจสื่อไปสู่ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องในอนาคต”
อนึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มคิง พาวเวอร์ ได้ทยอยขายหุ้น RS ออกมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่วันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมามีการเทขายหุ้นออกมาครั้งใหญ่เป็นจำนวน 4.36% ส่งผลให้จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่ายคงเหลือ 0.99% ซึ่งเป็นการเข้าถือหุ้นในระยะเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น จึงเป็นที่สนใจว่ากรณีของ AAV จะซ้ำรอยเดิมกับ RS หรือไม่
ทั้งนี้ การที่กลุ่มคิงพาวเวอร์เข้ามาถือหุ้น AAV มีความเป็นไปได้ว่า อาจเป็นการต่อยอดทางธุรกิจ เนื่องจากตัวธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่มีความคล้ายคลึงในแง่ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่เข้าไปซื้อหุ้น RS โดยเบื้องต้นมีแนวโน้มที่จะเป็นการต่อยอดในแง่ของ 1) ช่องทางการจำหน่ายสินค้าของคิงพาวเวอร์ 2) สามารถจัดโปรโมรชั่นร่วมขายกันได้ (ตั๋วเคริ่องบินสมนาคุณจากยอดซื้อสินค้าฯลฯ) และ 3) การจัดแพจเกจ (ท่องเที่ยวเครื่องบินบวกโรงแรม+บัฟเฟต์+สินค้าที่ระลึก)
ท้ายที่สุดแล้วผลลัพจะออกหัวหรือก้อยนักลงทุนคงเข้าใจได้เป็นอย่างดี