BA กระหึ่ม! จ่อสร้าง “สนามบินพังงา” เสริมแกร่งรับนักท่องเที่ยวสแกนฯเพิ่มขึ้น

BA คิดการใหญ่หวังสร้าง “สนามบินพังงา"เป็นของตัวเองอีกแห่ง รับอานิสงค์นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมหาศาล ล่าสุดเตรียมขอเช่าพื้นที่ป่าคลองทุ่งมะพร้าวสร้างสนามบิน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เตรียมขอเช่าใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองทุ่งมะพร้าว ใน ต.ลำแก่น จำนวน 2,000 ไร่ เพื่อสร้างสนามบิน มีอายุสัญญา 30 ปีและต่อได้อีก 30 ปี โดยจ่ายค่าเช่าที่ดินไร่ละ 50 บาท แต่หน่วยงานภาครัฐสามารถกำหนดเงื่อนไขค่าเช่าเพิ่มเติมได้อีกตามสมควร โดยที่ตั้งสนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตราว 40 กิโลเมตร

ด้านนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ระบุว่า ในขณะนี้สนามบินภูเก็ตมีความหนาแน่นเป็นอย่างมาก ซึ่งการสร้างสนามบินใน จ.พังงา นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาการขนส่งทางอากาศของฝั่งทะเลอันดามันในอนาคตด้วย

 

ย้ายชุมชนสร้างสนามบินพังงา

ภายหลังที่บริษัทเอกชนลงทุนขอเช่าใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองทุ่งมะพร้าว ต.ลำแก่น จ.พังงา เพื่อสร้างสนามบิน ข้อดีคือทำให้ลดความแออัดของสนามบินในจังหวัดใกล้เคียง แต่อีกด้านหนึ่งวิถีชีวิตของคนที่อาศัยในพื้นที่บางส่วนอาจต้องเปลี่ยนไป

ผู้สูงอายุหลายคนในพื้นที่หมู่ 4 บ้านท่าดินแดง ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา รู้สึกกังวลต่อความเป็นอยู่ของลูกหลานและผู้คนในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก หลังทราบข่าวทางการเตรียมยกพื้นที่ของหมู่บ้านให้เอกชนใช้ในการก่อสร้างสนามบิน

บ้านท่าดินแดงมีประชากรราว 400 คน เกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยมุสลิม โดยชาวบ้านหลายคนกล่าวว่าได้เข้ามาปักหลักอาศัยทำกินในพื้นที่ดังกล่าวหลายสิบปี การให้โยกย้ายออกจากบ้านซึ่งเป็นที่ฝังรกรากจึงเป็นสิ่งที่ยากจะรับได้

จ.พังงา เป็นหนึ่งในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ในแต่ละปีสามารถสร้างรายจากการท่องเที่ยวเข้าประเทศกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งภาคเอกชนมองว่าการสร้างสนามบินจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น

 

เร่งทำประชาพิจารณ์

นายวีระเดช ตะติ ผู้ใหญ่บ้านท่าดินแดง หมู่ 4 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า ชาวบ้านท่าดินแดง ได้รับแจ้งจากเทศบาลตำบลลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ให้จัดทำรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อที่จะใช้พื้นที่บ้านท่าดินแดง ก่อสร้างสนามบินเอกชน

โดยมีการแจ้งให้ชาวบ้านทราบก่อนหน้า 3 วัน ในที่ประชุมได้พูดถึงเงินชดเชยผลอาสินที่ชาวบ้านปลูกสร้างไว้และชดเชยบ้านพักอาศัยแต่ละหลัง แต่ไม่มีการชดเชย ที่ดินเนื่องจากทั้งหมดเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และ ผู้ที่นำเสนอในชดเชยผลอาสินจึงเป็นตัวแทนของผู้ที่จะใช้พื้นที่ในการสร้างสนามบินซึ่งเป็นเอกชน ทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่บ้าท่าดินแดงจึงไม่มั่นใจว่าจะได้เงินชดเชยจริงหรือไม่

 

ชงครม.หนุนพัฒนาพังงาบูมท่องเที่ยวใต้

ก่อนหน้านี้การประชุมครม.เมื่อหลายปีก่อน(20มี.ค.55) สำนำงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ได้เสนอรายงานผลการตรวจสอบสภาพพื้นที่เพื่อประกอบพิจารณาให้ ครม.เพื่อพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของ จ.พังงา และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ดังนี้ 1.ให้กระทรวงคมนาคม(คค.)การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการขยายสนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณไว้แล้ว พร้อมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินพังงาโอกาสต่อไป เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปี

2.ให้ คค.การมทางหลวง จ.พังงา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม ในการจัดตั้งสสำนักงานแขวงการทางพังงา เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง อาทิ ถนน หรือสะพานเข้าแหล่งท่องเที่ยวให้แก่ จ.พังงา ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.ให้ คค.กรมเจ้าท่า กระทรวงการท่งเที่ยวและกีฬา(กก.) และ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าเทียบเรือ ท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.คุรุบุรี และทับละมุ อ.ท้านเหมือง จ.พังงา เพื่อให้เป็นท่าเทียบเรือท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว

4.ให้ กก.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและหน่วยงานดังกล่าวสามารถบริหารจัดการท่องเที่ยว จ.พังงา ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการตลาดและการประขาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัด ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น

5.ให้กระทรวงทรัพยยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การท่งเที่ยว และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันพิจารณาความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมัลัน อาทิ ปัญหาขยะมูลฝอย และปัญหาปะการังฟอกขาว รวมทั้งกำหนดเขตพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้ให้ชัดเจน เพื่อจัดระเบียบและมาตรฐานความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวให้เป็นมาตรฐานสากล

6. ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาความเหมาะสมในการลดอัตราค่าธรรมเนียมวีซ่า เข้าประเทศของนักท่องเที่ยวจากประเทศยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของจังพังงา เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวจ.พังงา

Back to top button