SINGER บวกเกือบ 6% โบรกฯ ปรับประมาณกำไรปี 64-65 เพิ่ม สะท้อนพอร์ตสินเชื่อ C4C โต

SINGER บวกเกือบ 6% โบรกฯ ปรับประมาณกำไรปี 64-65 เพิ่ม สะท้อนพอร์ตสินเชื่อ C4C โต ล่าสุดอยู่ที่ 23.90 บาท บวก 1.30 บาท หรือ 5.75% มูลค่าซื้อขาย 330.74 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ล่าสุด ณ เวลา 11.23 น. อยู่ที่ 23.90 บาท บวก 1.30 บาท หรือ 5.75% สูงสุดที่ 24.40 บาท ต่ำสุดที่ 22.30 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 330.74 ล้านบาท

ทั้งนี้ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อ” หุ้น SINGER ราคาเป้าหมาย 21 บาท/หุ้น โดยมองว่าปี 2563 เป็นปีที่ดีและได้พิสูจน์ New normal ของฐานกำไรระดับร้อยล้านต่อไตรมาสของ SINGER และคาดว่าจะการเติบโตของกำไรยังไปต่อในปี 2564-65 โดยปรับประมาณกำไรขึ้น 20% จาก Credit cost ดีกว่าคาดถึง 300bps ด้วยคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีในทุกธุรกิจ แนวโน้ม NPL จะลดลงต่อในอีกสองปีข้างหน้า ควบคู่กับไปการขยายพอร์ตสินเชื่อจำนำทะเบียน (C4C) ได้ในทุกไตรมาส ประเมินกำไรปี 2564 ที่ 21% เมื่อเทียบจากปีก่อน

ทั้งนี้โมเมนตัมกำไรจะยังแข็งแรงต่อหลังรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/63 เท่ากับ 117 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน และ 266% เมื่อเทียบจากปีก่อน ดีกว่าคาด 17% เป็นผลจากยอดขายสินค้า 47% สอดคล้องกับการขยายสาขาย่อย +60%YTD เป็น 1,732 สาขาทั่วประเทศ ควบคู่กับการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ C4C 2.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน สวนทางกับ NPL ที่ลดลงเหลือ 5.1% จาก 6.5% ในไตรมาสก่อนดีขึ้นจากทุกธุรกิจ

โดยประเมินว่าไตรมาส 4/63 เป็นช่วงที่อุปสงค์-การบริโภคกลับมาดีขึ้น ขณะสินเชื่อก็ยังขยายได้ต่อเนื่อง ทำให้ภาพกำไรจะเติบโตได้ทั้งเทียบจากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบจากปีก่อน ส่วนภาพรวมปี 2563 คาดมีกำไรสุทธิ 442 ล้านบาท ดีกว่าคาดไว้เดิม 10% เป็นการกลับมาทำสถิติสูงสุดของบริษัท

นอกจากนี้ได้ปรับประมาณการปี 2564-2565 ขึ้น 20% เป็น 530/591 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20/12% เมื่อเทียบจากปีก่อน จาก เป็นไปตามการเติบโตของยอดขายสินค้า และพอร์ตสินเชื่อ C4C (สัดส่วนเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ของทั้งหมด) จะโตได้ตามแผนจาก 3 พันล้านบาทในปีหนี้ เป็น 5.4/7.4 พันล้านบาทในปี 64-65 +80/+40% เมื่อเทียบจากปีก่อน ซึ่งมี NPL เพียง 0.5% ii) การตั้งสำรองที่น้อยกว่าคาด สะท้อนจากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น NPL มีโอกาสลดลงต่อและต่ำกว่า 5% ทำให้ Credit cost ลดลงจาก 6-11% เหลือเพียง 2.6-3% ส่งผลให้อัตรากำไรดีขึ้นโดยตรง เห็นได้จาก NPM มาอยู่ที่ 13% ยืนสองหลักได้ในรอบ 5 ปี ขณะที่มี Upside risk จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ทั้งการปรับดอกเบี้ยเรียกเก็บขึ้น (ปัจจุบัน 16% vs รายอื่น 18%) และต้นทุนการเงินที่จะลดลงในครึ่งปีหลังปี 2564

Back to top button