DELTA นำโด่งติด Cash Balance เยอะสุด! แถมเข้าข่ายระดับ 2
ผ่านไปเพียง 1 เดือนครึ่งก็พบว่ามีรายชื่อหุ้นทยอยเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1: Cash Balance เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดหุ้นสามัญมีจำนวน 27 บริษัท
เส้นทางนักลงทุน
ผ่านไปเพียง 1 เดือนครึ่งก็พบว่ามีรายชื่อหุ้นทยอยเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1: Cash Balance เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดหุ้นสามัญมีจำนวน 27 บริษัท ขณะที่ทางด้านใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) มีจำนวน 6 หน่วย
สาเหตุหลักที่หุ้นและวอร์แรนต์เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance) พูดภาษาชาวบ้านว่า “ติดคุก” เป็นเพราะมีการซื้อขายผิดไปจากปกติของตลาดฯ
ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดต่อการลงทุน และระบบโดยรวมของตลาดฯ จึงโดดจัดเข้าข่าย Cash Balance ต้องใช้เงินสดซื้อเต็มจำนวนก่อนซื้อขายหลักทรัพย์ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้บัญชีมาร์จิ้นซื้อขายได้
สำหรับหลักเกณฑ์หุ้นที่เข้าข่ายติดระดับ 1: Cash Balance โดยหุ้นสามัญ อย่างหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่าหรือเท่ากับ 100 ล้านบาทต่อวัน (รวม 500 ล้านบาทต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 5 วัน) หรือ (400 ล้านบาทต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 4 วัน) ส่วนหลักทรัพย์ในกลุ่ม mai ใช้เกณฑ์มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 80 ล้านบาทต่อวัน
ขณะเดียวกันมีค่า P/E มากกว่าหรือเท่ากับ 40 เท่า หรือ ขาดทุน (ตลท.จะใช้ EPS ย้อนหลัง 4 ไตรมาสในการคำนวณ) รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใช้เกณฑ์ค่า Turn Over Ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 40%
ส่วนใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ที่อยู่ใน SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่าหรือเท่ากับ 100 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่อยู่ใน mai ยังใช้เงื่อนไขเดียวกับวอร์แรนต์ใน SET
ประกอบกับค่า % Premium ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 20% ของหุ้นแม่ รวมถึงต้องมี Turn Over Ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 100% และเพิ่มเติมเกณฑ์ให้ Warrant ของหุ้นที่ติด Cash Balance ต้องติดตามหุ้นหลักด้วย ตามระยะเวลาที่หุ้นหลักติด ถึงแม้ว่า Warrant จะเข้ามาเทรดใหม่ก็ตาม
ทางด้านข้อมูลการซื้อขายจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 ถึง 15 ก.พ.2564 พบว่า มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) 27 บริษัทเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับที่ 1 (Cash Balance) ไปแล้วช่วงก่อนหน้า ได้แก่ ACAP, CHAYO, COTTO, DDD, DELTA, GLOCON, IIG, IND, IP, JR, KCE, KEX, LEO, MICRO, NCAP, NEX, NRF, PSL, RBF, SEAOIL, SICT, SMT, THCOM, TKN, UPA, W และ YGG
เมื่อเข้าไปดูรายละเอียดหลักทรัพย์พบว่ามีการวนเวียนเข้ามาติดระดับ 1 : Cash Balance หลายบริษัทด้วยกัน โดยที่เข้ามากสุด!!! กลายเป็น DELTA, NRF ติดไป 3 ครั้ง ตามมาด้วย CHAYO, IIG, NEX, SMT และ YGG ติดไป 2 ครั้ง ส่วน ACAP, COTTO, DDD, GLOCON, IND, IP, JR, KCE, KEX, LEO, MICRO, NCAP, PSL, RBF, SEAOIL, SICT, THCOM, TKN, UPA และ W ติดไป 1 ครั้ง
ทั้งนี้อย่างไรก็ตามจากหลักทรัพย์ทั้งหมดยังมีหุ้นที่ยังไม่หลุดจากการติด Cash Balance อย่าง CHAYO จะไปหลุดวันที่ 25 ก.พ.2564 , DDD จะไปหลุดวันที่ 19 มี.ค.2564, GLOCON จะไปหลุดวันที่ 19 มี.ค.2564, IIG จะไปหลุดวันที่ 12 มี.ค.2564, NCAP จะไปหลุดวันที่ 19 มี.ค.2564, RBF จะไปหลุดวันที่ 12 มี.ค.2564, SICT จะไปหลุดวันที่ 26 มี.ค.2564, TKN จะไปหลุดวันที่ 5 มี.ค.2564 และ YGG จะไปหลุดวันที่ 5 มี.ค.2564
เหมือนกับใบสำคัญแสงสิทธิ (วอร์แรนต์) เข้าติดระดับ 1 : Cash Balance ได้แก่ CHAYO-W1, DOD-W1, GLOCON-W4, NEX-W2, W-W3 และ W-W5
ด้านทางวอร์แรนต์เป็น CHAYO-W1, NEX-W2 ติดไป 2 ครั้ง ขณะที่ DOD-W1, GLOCON-W4, W-W3 และ W-W5 ติดไป 1 ครั้ง
ส่วนที่ยังติดอยู่ CHAYO-W1 จะไปหลุดวันที่ 25 ก.พ.2564, DOD-W1 จะไปหลุดวันที่ 19 มี.ค.2564 และ GLOCON-W4 จะไปหลุดวันที่ 19 มี.ค.2564
อย่างไรก็ตามต่อจากนี้อาจจะยังคงเห็นหุ้นที่เคยติดแล้ววนเวียนกลับมาได้อีกหากมีการซื้อขายผิดปกติ รวมถึงอาจได้เห็นหุ้นหน้าใหม่เข้าข่ายติดระดับ1: Cash Balance เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้พิเศษสุดกับ DELTA เจอของแถมนอกจากจะเข้าข่ายระดับ 1: Cash Balance แล้วยังต้องเจอเข้าข่ายระดับ 2: ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance อีกด้วย โดยจะไปหลุดวันที่ 8 มี.ค.2564 ขณะเดียวกันมีตัว IND เข้าข่ายระดับ 2: ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ที่เข้ามาในวันที่ 17 ก.พ.2564 และจะไปหลุดวันที่ 9 มี.ค.2564
ขณะที่ช่วงระหว่าง 1 เดือนครึ่งยังไม่มีหุ้นที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับที่ 3 (ห้าม Net settlement) เช่นเดียวกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ท้ายสุดจากข้อมูลพบว่า DELTA, NRF เข้าข่ายติดระดับ1: Cash Balance มากสุดในบรรดาหุ้นตัวอื่น แต่ให้หนักมากก็ต้องเป็น DELTA ที่ทั้งติดระดับ 1 และระดับ 2
…