“ศาลฎีกา” ไม่รับฟ้อง “มาสด้า” เรียกค่าเสียหายลูกค้า 84 ล้าน ปมแฉปัญหารถ Skyactiv

“ศาลฎีกา” ไม่รับฟ้อง “มาสด้า” เรียกค่าเสียหายลูกค้า 84 ล้าน ปมแฉปัญหารถ Skyactiv


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (5พ.ค.) มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค รายงานว่า ศาลฎีกามีคำสั่งยุติเด็ดขาดไม่รับคำร้องอนุญาตฎีกาของบริษัท มาสด้า กรณีเรียกค่าเสียหายจากลูกค้ากว่า 84 ล้านบาท จากกรณีที่เมื่อต้นปี 2561 บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจำนวนกว่า 84 ล้านบาท จากผู้ใช้รถมาสด้า2 เครื่องยนต์ดีเซล ที่พบปัญหาเรื่องการใช้งานและออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทฯ

โดยมาสด้าให้เหตุผลในการฟ้องว่าผู้เสียหายใช้สิทธิเกินส่วนที่ผู้บริโภคควรใช้ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียง รวมทั้งทำให้ยอดจำหน่ายของบริษัทลดลง

ขณะที่ต่อมาเมื่อ 25 เมษายน 2563 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับคดีผู้ซื้อรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 2 สกายแอคทีฟ เครื่องยนต์เชื้อเพลิงดีเซล (Mazda 2 Skyactiv D 1.5) ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้รถรุ่นดังกล่าวเป็นคดีแบบกลุ่ม โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนและคุ้มครองผู้บริโภคจำนวนมากได้ในครั้งเดียว รวมทั้งยังช่วยให้ความยุติธรรมกับผู้เสียหายที่ไม่มีความสามารถในการฟ้องร้องคดีด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นวิธีการที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและช่วยหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการฟ้องคดี และลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาลได้อีกด้วยนั้น

โดยจากการรายงานข้อมูลจากกลุ่ม ‎อำนาจผู้บริโภค (ช่วยเหลือผู้ใช้ Mazda Skyactiv เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ฯลฯ’ บนเฟซบุ๊ก ระบุว่า จากคดีดังกล่าวที่บริษัทผู้ประกอบการรถ กล่าวว่า ผู้บริโภคใช้สิทธิเกินส่วนที่ผู้บริโภคควรใช้ และฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกว่า 84 ล้านบาทนั้น

ศาลฎีกามีคำสั่งเป็นที่ยุติเด็ดขาดไม่รับคำร้องอนุญาตฎีกาของโจทก์ หรือบริษัทโดยให้เหตุผลว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.249 ไม่เห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น หรือจำเป็นต่อการพัฒนาการตีความกฎหมาย ดังนั้นจึงยกคำร้องให้คืนคำฟ้องฎีกาพร้อมค่าธรรมเนียมในชั้นฎีกาแก่โจทก์

อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกฟ้องจำเลยนั้นไม่มีความผิดตามฟ้อง โดยระบุว่า ในสมัยปัจจุบันอันมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องป้องกว่ามาตรการควบคุมทางสังคมแต่ดั้งเดิมในอดีต การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผ่านกระบวนการทางศาลโดยมีคำขอท้ายฟ้องในลักษณะเช่นนี้น่าเชื่อว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ทั้งสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการขาดจริยธรรมทางธุรกิจและธรรมาภิบาล หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบธุรกิจที่ดีอย่างซ้ำซ้อนเสียยิ่งกว่าซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมทางธุรกิจของบริษัทแม่ของโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นที่เรียกคืนรถยนต์รุ่นมาสด้า2 Skyactiv ดีเซลจากตลาดและผู้บริโภค เมื่อพบว่าสินค้ารถยนต์ดังกล่าวมีปัญห

ขณะที่พฤติการณ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องต่อจําเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้บริโภค ดังที่ปรากฏในคดีนี้น่าจะเป็นแรงสะท้อนกลับ และยังส่งผลต่อความมั่นคงในการประกอบธุรกิจของโจทก์ในประเทศไทย ตามที่โจทก์หวาดกลัวอันกระทบถึงผลกำไรไปสู่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ได้ในท้ายที่สุด พฤติการณ์เช่นนี้จึงมิควรได้รับการรับรอง คุ้มครอง หรือสนับสนุนแต่อย่างใด นอกจากนี้ การอุทธรณ์ในส่วนอื่นนอกเหนือจากนี้ เป็นรายละเอียดปลีกย่อยถึงขนาดที่จะทำให้ผลแห่งคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่จำต้องวินิจฉัย จึงทำให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง รวมทั้งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาท มาด้วยนั้นชอบแล้ว

ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเห็นพ้องด้วยว่าการอุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อล้วนฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนตาม รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

Back to top button