“กรมชล” เตือน 11 จังหวัดลุ่ม “เจ้าพระยา” หลังระบายน้ำเพิ่มไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./วินาที

“กรมชลประทาน” ประกาศเตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยารับมือน้ำสูงขึ้น หลังเขื่อนเจ้าพระยามีความจำเป็นต้องระบายน้ำในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม.ต่อวินาที พร้อมมีประกาศด่วนในชาว จ.นนทบุรี เตรียมยกของขึ้นที่สูง และเฝ้าติดตามระดับน้่ำอย่างใกล้ชิด


นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 10 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี, ลพบุรี, ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

โดยจากการคาดการณ์ โดยกรมชลประทาน ในอีก 1-7 วันข้างหน้า โดยในวันที่ 11 ต.ค.นี้ ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,200–2,500 ลบ.ม.วินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำ Sideflow ประมาณ 200 ลบ.ม.ต่อวินาที

รวมกับคาดการณ์ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ประมาณ 100 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณ 2,800 ลบ.ม.ต่อ วินาที และทางกรมชลประทานได้ผันน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในอัตรา 400 ลบ.ม.ต่อวินาที

ทั้งนี้ กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยจะมีการระบายเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 60-80 ซม. บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ อาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ประกอบด้วย

1.คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)

2.วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

3.อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

4.อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

5.วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

6.ต.โพนางดำ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

7.วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

8.อ.ป่าโมก จ.อ่างทองทั้งนี้จากเกณฑ์การระบายน้ำดังกล่าวทาง

ทั้งนี้ กรมชลประทานจะควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตร หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป

ขณะที่ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธาธารณภัยกลาง (กปภก) ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยง กอปรกับกรมชลประทานได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ ๐๓๒๒๘/ว ๑๗๗๗๔ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2567 แจ้งว่า ประเทศไทยตอนบนมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

โดยปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามีบริมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันได จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำโดยกรมชลประทาน ใน 1-9 วันข้างหน้า ในวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่สถานีวัดน้ำ C2 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 2,200-2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณ 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่ง ในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราไม่เกิน 2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ประกอบกับช่วงเดือนตุลาคมตลอดทั้งเดือนจะมีสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเดยเฉพาะช่วงวันที่ 13-23 ตุลาคม 2567 จะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.60-0.70 เมตร ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ที่อาจจะส่งผลกระทบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนนทบุรี จึงขอให้แจ้งประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่นอกคันกั้นน้ำให้ยกของขึ้นที่สูง และเสริมกระสอบทราย/แนวคันกั้นน้ำ

พร้อมทั้งเตรียมเครื่องสูบน้ำในพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้ขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำจากสถานีวัดน้ำ C29 บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้อมูล ณ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 2,044 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

ทั้งนี้ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบและต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งเหตุ ทางหมายเลขโทรศัพท์ 02591 2571 สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่าน แอปพลิเคชัน ปกe “ปภ.รับแจ้งเหตุ 19885” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน LineDgarks&DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง และสอบถามสถามสถานการณ์น้ำเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบชลประทานโครงการชลประทานนนทบุรี ทางหมายเลขโทรศัพท์ 025833337 ต่อ 15

Back to top button