ชู 14 บจ.เด็ด เน้นกลุ่มผลตอบแทนแจ่มกว่าตลาดSET ยังฟื้นตัวลำบาก หลังตลาดหุ้นสหรัฐร่วงหนัก
ดัชนีหุ้นไทยดัชนีหุ้นไทยยังกดดันหลังตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ปรับตัวลงแรง อย่างไรก็ตาม Downside ของตลาดหุ้นไทยเป็นไปอย่างจำกัด 1,500 จุด มีแนวโน้มทำงานได้อย่างแข็งแกร่งช่วงนี้ จากการทำ Window Dressing การลงทุนระยะสั้นเลือกหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนชนะตลาด โดยเฉพาะช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้านี้ ณ เวลา 9.32 น. ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.56/58 บาทต่อเหรียญ ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเป็นส่วนใหญ่ โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงเกือบ 300 จุดเมื่อคืนนี้ หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ.ร่วงลงอย่างผิดคาด
นักวิเคราะห์มอง ดัชนีหุ้นไทยดัชนีหุ้นไทยยังกดดันหลังตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ปรับตัวลงแรง อย่างไรก็ตาม Downside ของตลาดหุ้นไทยเป็นไปอย่างจำกัด 1,500 จุด มีแนวโน้มทำงานได้อย่างแข็งแกร่งช่วงนี้ จากการทำ Window Dressing การลงทุนระยะสั้นเลือกหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนชนะตลาด โดยเฉพาะช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ หุ้นเด่นเลือก ADVANC-BJCHI-ITD-KTB-SAMART-KBANK-SCC-AOT-CENTEL-MINT-GUNKUL-RCL-SENA และ PRECHA
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (26 มี.ค.) ว่า คงมุมมองการลงทุนเป็น “กลาง” วันที่ 5 พร้อมคงกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,500/10 – 1,540/50 จุด และมูลค่าการซื้อขายจะยังเบาบางต่ำกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท/วัน เช่นเดียวกับช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งภาวะการลงทุนที่ขาดปัจจัยใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านลบ หรือ ด้านบวก ทำให้ SET INDEX ไม่สามารถกำหนดทิศทางการลงทุนได้ชัดเจน แต่เต็มไปด้วยความเปราะบางของการลงทุน เพียงแต่ Downside risk ของตลาดหุ้นไทยเป็นไปอย่างจำกัด 1,500 จุด น่าจะทำงานได้อย่างแข็งแกร่งช่วงนี้ จากการทำ Window Dressing ในช่วงโค้งสุดท้ายของไตรมาสแรก
ขณะที่เม็ดเงินใหม่ของกองทุนทริกเกอร์ฟันด์รอบนี้ราว 5-6 พันล้านบาทที่ทยอยเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้และต่อเนื่องถึงสัปดาห์หน้า เราคาดว่าหุ้น High Beta น่าจะเป็นเป้าหมายของการลงทุนในรอบนี้ ไม่ว่าจะเป็น ITD / TPIPL / TRUE หรือ IRPC หากเป็นไปตามคาด ภาพการลงทุนโดยรวมน่าจะเห็นการฟื้นตัวได้เช่นกัน
สำหรับทิศทางราคาน้ำมันดิบมีโอกาสไต่ระดับขึ้นทดสอบ US$50/barrel อีกครั้ง หลังสถานการณ์ในเยเมนกลับมามีแรงกดดันมากขึ้น จนผู้นำประเทศประกาศลี้ภัยออกนอกประเทศ เมื่อกลุ่มกบฎเข้าครอบครองพื้นที่ได้มากขึ้น กลายเป็นฉนวนให้เกิดความไม่แน่นอนด้านกำลังการผลิต แม้ว่าสหรัฐฯ รายงานปริมาณสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 11 และจำนวนสต็อกน้ำมันดิบทำระดับสูงสุดในรอบ 80 ปี อย่างต่อเนื่องก็ตาม
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ “นักลงทุนอาจพิจารณาถือพอร์ตเก็งกำไรระยะสั้น เพื่อรอขายทำกำไรในช่วงที่เริ่มทำ Window Dressing หรือใช้ผลตอบแทนจากการลงทุนรอบสั้นราว 5-10% เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การลงทุน”
Top Pick in Q1/15: ADVANC / BJCHI / ITD / KTB
Accumulative Buy: KTB / SAMART
บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ (26 มี.ค.) ว่า มูลค่าการซื้อขายที่ลดลง ทำให้การฟื้นตัวของ SET ระยะสั้นไปที่บริเวณ 1,520-1,525 จุดยังขาดเสถียรภาพ ขณะที่การปรับลดลงแรงเกือบ 300 จุด ของตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนนี้ หลังตัวเลขการสั่งซื้อสินค้าคงทนอ่อนแอ จะเป็นปัจจัยกดดัน SET วันนี้ ด้วยแนวรับ 1,500 จุด ขณะที่ระยะสัปดาห์แม้คาดหวังเชิงบวกต่อ Window Dressing + Trigger แต่ยังไม่มีสัญญาณ “ฟื้นตัว” ที่มีเสถียรภาพทางเทคนิค
แม้การ Rebound ของ SET ยังขาดเสถียรภาพ แต่เมื่อพิจารณากลุ่มหุ้นรายตัวจะเห็นว่าหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว (AOT CENTEL MINT) ธนาคาร (KBANK KTB) และวัสดุก่อสร้าง (SCC) มีแนวโน้มแข็งแกร่งกว่าตลาด โดยเฉพาะ AOT ที่ได้รับผลดีจากการเติบโตของจำนวนผู้โดยสาร +26% ในเดือน ก.พ. และ SCC ที่ได้รับผลดีจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงหนุน Spread ปิโตรฯ ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (26 มี.ค.) ว่า SET ยังอ่อนตัวต่อ แต่เชื่อว่า 1,500 จุด ยังมีนัยสำคัญ ระยะสั้นแนะเลือกหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนชนะตลาด โดยเฉพาะในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ โดย Top Two ในสถานการณ์นี้ คือGUNKUL ([email protected]) และ RCL (FV@B 13.1)
บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ (26 มี.ค.) คาดการณ์มุมมองทางเทคนิค สัญญาณทางเทคนิคพบว่ายังแสดงสัญญาณขาลงถึงแม้ว่าจะพยายามดีดขึ้นในระหว่างวันแต่พบว่ารูป candlestick แสดงภาพการอ่อนลงของดัชนีตลาดใต้เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วันและ macd ยังมีค่าติดลบที่ -15.07 ใต้ signal line แสดงให้เห็นว่าสัญญาณแนวโน้มลงยังเกิดขึ้นอยู่แต่หากตลาดกำลังเริ่มสร้างฐานอยู่นั่นเอง
แนวโน้มของตลาดจะเคลื่อนไหวที่กรอบแนวรับ 1,500-1,525
หุ้นที่เลือกวันนี้มีโอกาสปรับขึ้น แนะนำซื้อเก็งกำไร SENA และ PRECHA