สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 12 ก.พ. 2564
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 12 ก.พ. 2564
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนมีความหวังว่า รัฐบาลสหรัฐจะออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานที่บ่งชี้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในสหรัฐเริ่มลดลง และมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มมากขึ้น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,458.40 จุด เพิ่มขึ้น 27.70 จุด หรือ +0.1%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,934.83 จุด เพิ่มขึ้น 18.45 จุด หรือ +0.47% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,095.47 จุด เพิ่มขึ้น 69.70 จุด หรือ +0.50%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับแนวโน้มที่สหรัฐจะออกมาตรการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น และอัตราการฉีดวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดตลาดที่ระดับ 414.00 จุด เพิ่มขึ้น 2.65 จุด หรือ +0.64%
ดัชนี CAC 40 ปิดที่ 5,703.67 จุด เพิ่มขึ้น 33.85 จุด หรือ +0.60%, ดัชนี DAX ปิดที่ 14,049.89 จุด เพิ่มขึ้น 8.98 จุด หรือ +0.064% และดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,589.79 จุด เพิ่มขึ้น 61.07 จุด หรือ +0.94%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ในวงกว้าง แม้อังกฤษเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจหดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ถึง 9.9% ในปีที่ผ่านมาก็ตาม
ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,589.79 จุด เพิ่มขึ้น 61.07 จุด หรือ +0.94%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง ซึ่งกระตุ้นให้ราคาน้ำมันดิบโลกทะยานขึ้นมากกว่า 5% ในสัปดาห์นี้
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 1.23 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 59.47 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2563 และปรับตัวขึ้น 4.6% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.29 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 62.43 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 5.2% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) โดยถูกกดดันจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น และดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนยังขายสัญญาทองออกมาก่อนวันหยุดยาว 3 วันในช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยตลาดสหรัฐจะปิดทำการในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ (15 ก.พ.) เนื่องในวันประธานาธิบดีสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ราคาทองยังคงปิดบวกได้ในรอบสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,823.2 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่สัญญาทองคำปรับตัวขึ้น 0.6% ในรอบสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 28.1 เซนต์ หรือ 1.04% ปิดที่ 27.328 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 12 ดอลลาร์ หรือ 0.96% ปิดที่ 1,259 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 35.60 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 2,382.60 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) โดยนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์จากความหวังว่า รัฐบาลสหรัฐจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆ นี้
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.06% สู่ระดับ 90.4769 เมื่อคืนนี้
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.97 เยน จากระดับ 104.75 เยน, แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8899 ฟรังก์ จากระดับ 0.8922 ฟรังก์ และดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2702 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2699 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2114 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2129 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าแตะที่ระดับ 1.3849 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3804 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7755 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7747 ดอลลาร์