“อายิโนะโมะโต๊ะ” ส่งเสริมสุขภาพผู้บริโภค ผ่านสมดุลทางโภชนาการ
“อายิโนะโมะโต๊ะ” มุ่งส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้บริโภค ผ่านการมีสมดุลทางโภชนาการด้วยระบบการประเมินปริมาณสารอาหารในเมนูอาหาร (ANPS-M)
กลุ่ม บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ แนะนำระบบการประเมินปริมาณสารอาหารในเมนูอาหาร (The Ajinomoto Group Nutrient Profiling System for Menu-ANPS-M) ในการประชุมประจำปีของสมาคมสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 80 (Annual Meeting of Japanese Society of Public Health) ซึ่งถือเป็นระบบที่สามารถใช้ประเมินปริมาณสารอาหารในเมนูอาหารระบบแรกของโลกที่ได้บูรณาการวัฒนธรรมด้านอาหารของญี่ปุ่นและประเด็นปัญหาด้านสุขภาพเข้าด้วยกัน
โดยจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้สามารถประเมินคุณค่าทางโภชนาการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในเมนูอาหารที่ปรุงสุก (รายเมนู) พร้อมตั้งเป้าพัฒนาและขยายผลการใช้งานระบบให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมอาหารในแต่ละภูมิภาคต่างๆทั่วโลก อาทิ กลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศละตินอเมริกา รวมถึงประเทศไทยอีกด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันการปรับปรุงภาวะโภชนาการเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจทั่วโลก ทำให้กลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารต่างพัฒนาและแนะนำระบบการประเมินปริมาณสารอาหาร (Nutrient Profiling System-NPS) โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารได้อย่างง่าย
โดยกลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะได้พัฒนาและแนะนำระบบการประเมินปริมาณสารอาหารในผลิตภัณฑ์ (Ajinomoto Group Nutrient Profiling System for Products -ANPS-P) ขึ้นในปี พ.ศ.2563 เพื่อเป็นเครื่องมือในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ ประมาณ 500 รายการ จาก 9 กลุ่มบริษัทฯ ใน 7 ประเทศทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2564) ซึ่งช่วยให้สามารถประเมินคุณค่าผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงคุณภาพ และส่งมอบคุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้น อันจะช่วยปรับปรุงสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้บริโภคนั่นเอง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของระบบ ANPS-P และ NPS ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้น มีข้อจำกัดในการนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปรุงรส ซึ่งปกติจะต้องนำไปประกอบกับวัตถุดิบอื่นเพื่อรับประทาน ต่างกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ที่สามารถรับประทานเดี่ยวๆ ได้
ดังนั้นกลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ จึงได้พัฒนาระบบ ANPS-M ขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณโภชนาการในจานอาหาร และสามารถใช้กับเครื่องปรุงรสได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยชี้ให้เห็นปัญหาทางโภชนาการ และช่วยให้ผู้บริโภคเห็นภาพที่ชัดเจนว่าควรจะแก้ไขอย่างไร เช่น การลดปริมาณการบริโภคโซเดียมและไขมัน โดยการปรับมาบริโภคโปรตีนและผักในปริมาณที่เหมาะสมแทน ในขณะที่รสชาติยังคงความอร่อยกลมกล่อมได้อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งกลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยปรับปรุงโภชนาการที่ดีนั่นเอง โดยบริษัทจะใช้ระบบนี้เพื่อสนับสนุนผู้บริโภคให้สามารถคำนวนปริมาณสารอาหารและสามารถบริโภคอาหารได้อย่างมีสมดุลทางโภชนาการ
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ จะยังคงทุ่มเทเพื่อเพื่อสร้างสรรค์วิถีชีวิตที่สะดวกสบายและยืดอายุขัยของผู้คนทั่วโลกและพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการที่จะเป็นบริษัทผู้ช่วยแก้ไขปัญหาด้านอาหารและสุขภาพซึ่งสะท้อนถึงแก่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมที่เรายึดมั่นเสมอมา หรือที่เราเรียกว่า ASV (The Ajinomoto Group Creating Shared Value-ASV)”