SCC:กำไรโตอย่างมีเสถียรภาพแนะนำซื้อเป้าหมาย 580 บาท
SCC:กำไรโตอย่างมีเสถียรภาพแนะนำซื้อเป้าหมาย 580 บาท
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(17 ม.ค.59) ว่า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC ปริมาณการใช้ซีเมนต์ในประเทศยังคงซบเซา โดย -2.4%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 11M59 หดตัวที่ -0.8%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะความต้องการใช้ในภาคก่อสร้างที่อยู่อาศัยและภาคครัวเรือนชะลอตัว ซึ่งสองส่วนนี้คิดเป็น 70% ของปริมาณการใช้ของประเทศไทย
ส่วนอุปสงค์ของภาครัฐ +10%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 11M59 แต่ก็ชะลอตัวในช่วงต.ค.-พ.ย.59 (+1%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่านั้น) ซึ่งหากธ.ค.ยังเพิ่มน้อยต่อ การบริโภคของภาครัฐในปี 59 อาจเพิ่มที่ +8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
บริษัทจะมีโรงงานซีเมนต์ใหม่ในเมียนมาร์ และลาว เริ่มผลิตไตรมาส 1/60 ด้วยกำลังการผลิต 1.8 ล้านตัน/ปี หรือ 5.8% ของกำลังการผลิตของ SCC อุปสงค์ในอาเซียนช่วง 9M59 เติบโตระหว่าง 2-16%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะใน CLMV ที่เติบโตดี ด้านราคาขายอยู่ในระดับสูงกว่าราคาในประเทศเพราะอุปทานตึงตัวกว่า
แม้ว่าปิโตรเคมีอยู่ในช่วง Peak ของวัฎจักร แต่สามารถลากยาวไปได้อีก 3-4 ปีเพราะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาไม่มาก และในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าอัตราการใช้กำลังการผลิตเอทธีลีน & โพรพิลีนในตลาดโลกคาดว่าจะสูงที่ 90% โดยอุปสงค์และอุปทานคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 4% ต่อปี แม้จะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาจากอเมริกาเหนือและเอเชียก็ตาม ความเสี่ยงหลัก คือ ราคาแนฟทาที่ผันแปรตามราคาน้ำมัน ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบคิดเป็น 70-80% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ด้าน PVC มาร์จิ้นแข็งแกร่งมาก เพราะอุปสงค์จากภาคก่อสร้างเพิ่มขึ้น ต้นทุนไม่สูง และอุปทานใหม่น้อย ทาง SCC มีระดับต้นทุนแนฟทาในระดับค่อนข้างต่ำ (อยู่ใน Quatile แรก) เพราะเป็นโรงงานขนาดใหญ่ระดับโลก มีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง
เนื่องด้วยไตรมาส 4 มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานระยองโอเลฟินส์ 40 วัน และ Spread ในไตรมาส 4/59 อ่อนลงราว 8-9%เทียบไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อุปสงค์ซีเมนต์ก็ยังอ่อนแอ คาดการณ์ไว้ที่ 9.6 พันล้านบาท (ลดลงทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเทียบไตรมาสก่อนหน้า)
ทาง DBSV ประมาณการว่ากำไรจะทรงตัวเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ 5.3 หมื่นล้านบาท (EPS : 44.50 บาท/หุ้น) แม้ว่ารายได้และกำไรจากธุรกิจปิโตรเคมีจะดีขึ้น ทั้งจากปริมาณผลิตและขายที่สูงขึ้น และราคาดีขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ แต่ราคาวัตถุดิบ & ต้นทุนพลังงานทั้งถ่านหินและน้ำมันก็เพิ่มเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการปรับขึ้นของราคาถ่านหินจะไม่มาก เนื่องจากได้ทำสัญญาซื้อล่วงหน้าของส่วนที่จะใช้ในปี 60 เกินกว่า 50% ไปแล้วตั้งแต่ครึ่งแรกปี 59
แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 580 บาท (DCF) หรือเทียบเท่ากับ P/E ปี 60 ที่ 13 เท่า (Mean 5 ปี-0.65SD) ปัจจัยกระตุ้น คือ ความคืบหน้าของการลงทุนภาครัฐ และการฟื้นตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน ส่วนปัจจัยเสี่ยง คือ ความผันผวนของราคาปิโตรเคมี & ต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน รวมถึงการปิดซ่อมบำรุงนอกแผน