ส่งออกกุ้งไทยกระอัก คู่แข่งดัมพ์ราคาCFRESHมองลบTUF-CPFยังรับไหว
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (1 เม.ย.58) ว่า อุตสาหกรรมส่งออกกุ้งไทยวิกฤตต่อเนื่อง อินโดนีเซีย-อินเดีย ทุ่มตลาดกดราคารับซื้อต่ำกว่ากุ้งไทย 1,000 USD/ตัน ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศดิ่งเหว แหล่งข่าวจากวงการส่งออกกุ้ง เปิดเผยว่าขณะนี้ผู้ส่งออกกุ้งไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก จนมีโรงงานและห้องเย็นปิดตัวไปแล้วหลายแห่ง ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 10 แห่ง เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่สามารถส่งออกกุ้งได้ เพราะไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาตั้งแต่ช่วงปลายปี 57 จนถึงปัจจุบัน
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (1 เม.ย.58) ว่า อุตสาหกรรมส่งออกกุ้งไทยวิกฤตต่อเนื่อง อินโดนีเซีย-อินเดีย ทุ่มตลาดกดราคารับซื้อต่ำกว่ากุ้งไทย 1,000 USD/ตัน ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศดิ่งเหว แหล่งข่าวจากวงการส่งออกกุ้ง เปิดเผยว่าขณะนี้ผู้ส่งออกกุ้งไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก จนมีโรงงานและห้องเย็นปิดตัวไปแล้วหลายแห่ง ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 10 แห่ง เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่สามารถส่งออกกุ้งได้ เพราะไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาตั้งแต่ช่วงปลายปี 57 จนถึงปัจจุบัน
ถือว่าเป็นเคราะห์ซ้ำหลังมีแนวทางแก้ปัญหาโรคตายด่วนได้บ้าง แต่ตอนนี้กลับไม่มีออเดอร์ ผู้ประกอบการและเกษตรกรตัดสินใจจะขอความช่วยเหลือสภาพคล่องจากรัฐแล้ว ทุกวันนี้มีแต่ผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่ยังอยู่รอดและไม่ค่อยได้รับผลกระทบเช่น TUF,กลุ่ม CP, กลุ่มบริษัทยูเนี่ยน โฟรเซน โปรดักส์ (UFP) เป็นต้น เพราะมีเครือข่ายต่างประเทศ สามารถซื้อวัตถุดิบที่ถูกจากอินเดียแล้วมาแพ็คที่ไทยได้ (ประชาชาติธุรกิจ)
ผลกระทบและคำแนะนำ: เป็นลบกับหลักทรัพย์ที่ทำเฉพาะธุรกิจกุ้งส่งออก เช่น CFRESH (not rated) ส่วน TUF (แนะนำ ซื้อ) และ CPF (แนะนำ ถือ) แม้ได้รับผลกระทบบ้างจากราคากุ้งที่ตกต่ำลง แต่ยังดีที่มีการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ด้วยการมีสินค้าในมือที่มีความหลากหลาย มีการลงทุนต่างประเทศ รวมทั้งการซื้อกิจการไปยังต่างประเทศ