กูรูมองแนวโน้มเงินบาทแตะ 34 บาทชู 9 หุ้น รับประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มองว่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแตะ 34 บาท ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่ามากสุด ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2552 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติซับไพร์ม แต่ถือว่าอ่อนค่าไปในทิศทางเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน และถือว่าเป็นผลดีต่อภาคส่งออก ที่มีรายได้ในรูปสกุลดอลลาร์สุทธิ (รายได้ดอลลาร์ มากกว่าต้นทุนดอลลาร์ หรือมีต้นทุนเป็นเงินบาท) จึงแนะนำให้สะสมหุ้นในกลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ,ผู้ส่งออกอาหาร ,หุ้นเดินเรือเทกอง
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ระบุในบทวิเคราะห์ (3 มิ.ย.) เชื่อว่าการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายบวกกับแนวโน้มการขายตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ขายสุทธิ 2.6 หมื่นล้านบาทในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา และขายสุทธิ 1.15 หมื่นล้านบาท จากต้นปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เทียบกับที่ซื้อสุทธิ 2.07 แสนล้านบาท และ ซื้อสุทธิ 4.2 แสนล้านบาท ในปี 2557 และ 2556 ตามลำดับ ล้วนเป็นปัจจุบันกดดันให้เงินบาทมีคงอ่อนค่า
โดยใกล้เคียง 33.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะแตะ 34 บาท ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่ามากสุด ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2552 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติซับไพร์ม แต่ถือว่าอ่อนค่าไปในทิศทางเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน และถือว่าเป็นผลดีต่อภาคส่งออก ที่มีรายได้ในรูปสกุลดอลลาร์สุทธิ (รายได้ดอลลาร์ มากกว่าต้นทุนดอลลาร์ หรือมีต้นทุนเป็นเงินบาท) จึงแนะนำให้สะสมหุ้นในกลุ่มดังต่อไปนี้คือ
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA (FV@B48) รองลงมาคือ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA (FV@B78), บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE (FV@B60) และ บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVI([email protected]) ตามด้วยผู้ส่งออก Particle board คือ บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ VNG ([email protected]) ผู้ส่งออกอาหาร ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF (FV@B26), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF(FV@B28) และ บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ CFRESH([email protected])
รวมถึงหุ้นเดินเรือเทกองที่มีรายได้เป็นสกุลดอลลาร์ และยังได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ตกต่ำในปัจจุบัน คือ บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) หรือ RCL ([email protected])
ทั้งนี้ยกเว้นหุ้นส่งออกสินค้าเกษตร อีกกลุ่มหนึ่ง แม้จะฐานรายได้ในรูปดอลลาร์เกือบ 100% และใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่มีคำแนะนำเพียงถือ เพราะนอกจากธุรกิจส่งออกไม่สดใสแล้ว พบว่าราคาตลาดยังใกล้ Fair Value หรือมี upside จำกัด คือ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL(FV@B5)
อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทอ่อนค่าลงทุก 1 บาท จากสมมติฐานของ ASPS ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ จะหนุนให้กำไรของ KSL เพิ่มขึ้น 6.7% จากประมาณการปัจจุบัน ตามมาด้วย บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA(FV@B14) แม้ทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จากสมมติฐานจะเพิ่มกำไรให้ 7.2% จากประมาณการปัจจุบัน แต่ราคาปัจจุบันมี upside จำกัด