SNC อนาคตน่าลุ้น ปันผลน่าสนใจออกผลิตภัณฑ์ใหม่หนุนการเติบโต

บล.กรุงศรี มองว่าการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะช่วยหนุนการเติบโตของ SNC ในปี 59-60 อีกทั้งให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ ให้มูลค่าเหมาะสมที่ 18 บาท


บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ (7 ก.ค.) ว่า บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNC ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ใหม่จะช่วยหนุนการเติบโตในปี 59-60 ขณะที่ได้พบกับผู้บริหารของบริษัทเป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว CEO ของบริษัทได้เปิดเผยถึงข่าวดีว่าผลิตภัณฑ์ heat pump และ aluminum condenser ใหม่ของบริษัทลูกจะเริ่มผลิตในไตรมาสที่ 2/58 และ 3/58 ตามลำดับ

ทั้งนี้ SNC กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศเพื่อผลิต aluminum condenser ใหม่ให้ ซึ่งคาดว่าน่าจะสรุปดีลได้ในไตรมาสที่ 4/58 เชื่อว่าหลังจากที่ SCAN ซึ่งเป็นบริษัทลูกเริ่มผลิตสินค้าในปี 59 แล้ว มันจะเริ่มมีกำไรจากไตรมาสที่ 3/59 เป็นต้นไปหลังจากที่มีผลขาดทุนสุทธิ 76 ล้านบาทในปี 57

ขณะที่ผู้บริหารคาดว่ายอดขายจะโต 5% ในปี 58 แต่คิดว่ายอดขายปีนี้จะโตแค่ 3% เป็น 7.7 พันล้านบาท จากการชะลอตัวของการส่งออกเครื่องปรับอากาศและ compressors ในไตรมาสที่ 1/58 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตที่ลดลงของผลิตภัณฑ์ heat pump ตัวใหม่

ทั้งนี้คาดว่า NPM จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นประมาณ 5.3% (+20 bps) จากผลิตภัณฑ์ heat pump ใหม่และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผลขาดทุนจากบริษัทในเครือใหม่ๆ จะยังคงเป็นตัวฉุด NPM คาดว่าบริษัทในเครือใหม่สองแห่ง (SFHI และ MSPC) น่าจะมีผลขาดทุนรวมกันประมาณ 20 ล้านบาทในปีนี้ โดยผลขาดทุนรวมจากบริษัทในเครือของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 96 ล้านบาทจาก 88 ล้านบาทในปี 2557

ขณะที่หุ้น SNC นอกจากจะให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจแล้วยังมีปัจจัยกระตุ้นการเติบโตในปี 59 อีกด้วย โดยราคาหุ้นในปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ 11x ของ P/E ปี 58 ซึ่งคิดเป็น -1.0SD ของค่าเฉลี่ยห้าปีย้อนหลัง เชื่อว่าหุ้นของบริษัทสมควรที่จะซื้อขายที่ระดับ 13x ของ P/E ปี 2558 หรือ +1.0SD ของค่าเฉลี่ยห้าปีย้อนหลัง ซึ่งจะคิดเป็นมูลค่าเหมาะสมที่ 18 บาท มองเห็นความเสี่ยงในแง่ downside จาก (i) การที่บริษัทอาจจะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ถึงระดับจุดคุ้มทุน (ii) อุตสาหกรรมของสินค้าหลักของบริษัทโตต่ำกว่าคาด และ (iii) ลูกค้าหลักสองราย (สร้างรายได้ถึง 40% ของรายได้รวม) อาจจะเปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิต OEM เสียเอง

Back to top button