โบรกฯส่องกลุ่มธนาคารพาณิชย์คาดกำไรไตรมาส 4/58 ยังอ่อนแอ
โบรกฯส่องกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในไตรมาส 4/58 ยังอ่อนแอ โดยฝ่ายวิจัยฯ DBSV คาดการณ์ไว้ที่ -21%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ -9% เทียบไตรมาสก่อนหน้า เพราะตั้งสำรองค่าเผื่อฯเพิ่ม เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
บล.ดีบีเอสฯ ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (12 ม.ค.) ว่า กำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในไตรมาส 4/58 ยังอ่อนแอ ฝ่ายวิจัยฯ DBSV คาดการณ์ไว้ที่ -21%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ -9%เทียบไตรมาสก่อนหน้า เพราะตั้งสำรองค่าเผื่อฯเพิ่ม เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง เทียบไตรมาสก่อนหน้า แต่ TCAP และ TISCO จะรายงานกำไรไตรมาส 4/58 เติบโตทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เทียบไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่คาดว่า BBL, KBANK และ TMB จะมีกำไรสุทธิไตรมาส 4/58 หดตัว เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เทียบไตรมาสก่อนหน้า สำหรับ KTB, SCB และ TISCO กำไรจะเติบโตสูงเมื่อเทียบ เทียบไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากฐานกำไรที่ต่ำของ 3Q15 ขณะที่กำไรก่อนสำรองค่าเผื่อฯ คาดว่าจะลดลงมาก เทียบไตรมาสก่อนหน้า เพราะรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่ำลง
กำไรสุทธิทั้งปี 58 ของกลุ่มธนาคารที่ DBSV ทำการวิเคราะห์คาดว่าจะหดตัว 12% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1.66 แสนล้านบาท โดย TCAP มีผลประกอบการโดดเด่นที่สุด โดยคาดว่าจะเติบโต 6%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะมีสิทธิประโยชน์ด้านภาษี แต่กำไรก่อนสำรองค่าเผื่อฯ หดตัว5%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการกู้ยืมลดลง ส่วนธนาคารที่มีการขยายตัวของกำไรก่อนสำรองค่าเผื่อฯมากที่สุด คือ TMB ที่ 19%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะการเติบโตของสินเชื่อ, NIM เพิ่มขึ้น, รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยขยายตัวสูง และ Cost-to-income ratio ลดลง
ผลประกอบการปี 59 ยังมีความท้าทายจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และการตั้งสำรองค่าเผื่อฯที่สูง ธนาคารส่วนใหญ่ยังเน้นดูแลเรื่องคุณภาพเป็นหลัก รวมทั้งจะขยาย Coverage ratio เพิ่มขึ้นด้วย เราใช้สมมติฐานที่อนุรักษ์นิยมกับ BBL เพราะมีความกังวลกับสินเชื่อธนาคารซึ่งมีสัดส่วนของสินเชื่อในกลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคมสูงกว่าธนาคารอื่นๆ และอุตสาหกรรมนี้มีความเสี่ยงจากการแข่งขันตัดราคาที่รุนแรง นอกจากนั้นยังให้ KTB กันสำรองค่าเผื่อฯในระดับสูงเพราะธนาคารมี Coverage ratio ต่ำ
ยังไม่มีปัจจัยบวกกระตุ้นในระยะสั้น ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็ล่าช้า โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ให้ KBANK เป็น Top Pick เนื่องจากมีการกระจายความเสี่ยงที่ดี มีดุลยภาพในด้านการเติบโตและคุณภาพสินทรัพย์ รองลงมาเป็น TCAP ซึ่งมี Upside Risk จากการฟื้นตัวของยอดขายรถยนต์ครึ่งหลังปี 59 และการกลับมาของการลงทุน นอกจากนั้นหุ้นยังมี Valuation ที่ถูกที่สุดในกลุ่ม